วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

แอลคาร์นิทีน ลดความอ้วนได้ จริงหรือ !!!

L-Carnitine ลดความอ้วนได้จริงหรือ!! 
ลดความอ้วน ต้องทำอย่างไร 


     แอล-คาร์นิทีน เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรานี่เอง โดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine) และแอล-คาร์นิทีนในร่างกายของเราก็ถูกใช้ไปในหน้าที่ต่างๆ หลายอย่าง เช่น เข้าไปช่วยเพิ่มกระบวนการใช้ไขมัน (fat) โดยการขนส่งกรดไขมัน (fatty acid) เข้าไปในไมโทคอนเดรีย (ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการสร้างพลังงานของเซลล์) หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ แอล-คาร์นิทีนช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มานี้ส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรานั่นเอง 

     แอล-คาร์นิทีนถูกสร้างขึ้นภายในตับและไต และนำไปเก็บไว้ในกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) ตัวอย่าง ก็เช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา ของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในหัวใจ สมอง และสเปิร์ม (ทำให้สเปิร์มเคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม เพราะแอล-คาร์นิทีนจะไปเร่งให้ไมโทคอนเดรียเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงานนั่นเอง) สำหรับในอาหารก็จะพบแอล-คาร์นิทีนในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผลอะโวคาโด (Avocado) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วหมัก (tempeh) 

รูปแบบของคาร์นิทีนที่มีการนำมาใช้ 
                   คาร์นิทีนที่ถูกนำมาใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมจะมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่ใช้กันแพร่หลายมีอยู่ 3 รูปแบบ รูปแบบแรกก็คือ แอล-คาร์นิทีน (LC) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีราคาถูกที่สุด รูปแบบที่สอง คือ แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine (LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคแอลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองโรคอื่นๆ 
                   รูปแบบสุดท้าย คือ แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน [L-propionylcarnitine (LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกและโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และใช้ได้ผลดีกับโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease - PVD) 


การดูดซึมคาร์นิทีนของร่างกาย 
                   ถ้าเรากินเข้าไป การดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน 

บทความจาก คุณ สุทธิพงษ์ พงษ์วร 


         พูดถึงการทำงานของร่างกายเราเกี่ยวกับพลังงานก่อนนะครับ พลังงานของร่างกายเราหลักๆ ได้มาจากสามอย่างคือ คาร์โบไฮเดรต(ข้าว แป้ง น้ำตาล) ไขมัน(น้ำมัน เนย ) และ โปรตีน (เนื้อ นม ไข่)  เมื่อเราทานอาหารเข้าไป คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน จะถูกย่อย และดูดซึม คารโบไฮเดรต จะถูกเปลียนเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน เช่นเดียวกับไขมัน และโปรตีน ส่วนเกินที่เหลือ ก็จะถูกเก็บไว้ใช้ในช่วงที่เราอดอาหาร เช่น ตอนนอน เวลาระหว่างมื้อ เป็นต้น ร่างกายเราใช้พลังงานหลักจากกลูโคส(คาร์โบไฮเดรต) ซึ่งเมื่อมีกลูโคสมากก็จะถูกเก็บในกล้ามเนื้อละตับ ซึ่งสองที่นี้เก็บได้จำกัด ร่างกายจึงสามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมัน ไปเก็บตามจุดต่างๆของร่างกาย ซึ่งเก็บได้ไม่จำกัด มาถึงตรงนี้หลายคนคงพอนึกออกแล้วว่าทำไมตัวเองอ้วน ^^ ไขมันที่เหลือเองก็เอาไปเก็บได้ แต่โปรตีน ที่เหลือจากการสร้างเสริมซ่อมแซมร่างกาย จะถูกขับทิ้ง กระบวนการเหล่านนี้เกิดขึ้นหลังเรารับประทานอาหารไม่นาน เมื่ออยู่ในช่วงที่ร่างกายไม่ได้รับอาหาร แหล่งพลังงานแรกที่ร่างกายเลือกคือคาร์โบไฮเดรตจากตับและกล้ามเนื้อซึ่งร่างกายเรามีพอใช้แค่ 24 ช่วโมงในการใช้ชีวิตปกติ ถ้าเราใช้แรงมากกว่าปกติ เช่น ทำงาน ออกกำลังกาย แล้วคาร์โบไฮเดรตที่สะสมหมด ร่างกายจะเริ่ม กระบวนการสร้างพลังงานจากสารอื่นเช่น ไขมัน เป็นตัวต่อไป ตรงนี้แหละคับ กระบวนการเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ต้องอาศัยแอลคาร์นิทีน ในการขนส่งไขมันเข้าไปเผาผลาญในเซลล์ เพื่อให้ได้พลังงาน แต่ถ้าเราอดอาหารต่ออีก จนไขมันหมด ร่างกายก็จะเริ่มสลายกล้ามเนื้อ เอาโปรตีนมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน เชื่อว่าหลายคนคงไม่ถึงจุดนี้แน่นอน เพราะถึงจุดนี้ใกล้ตายแล้วว การเปลี่ยนโปรตีนเป็นพลังงาน ก่อให้เกิดสารพิษทำลายสมอง แต่กว่าจะถึงขนาดนั้นคืออดอาหารนานมาก เพราะร่างกายเรานี่มหัศจรรย์มาก มันไม่รู้หรอกว่าเราต้องการแบบไหน มันรู้อย่างเดียวว่าต้องรอด ดังนั้นเมื่อมีการลดลงของพลังงาน การเผาผลาญก็จะลดลงตามไปด้วยเสมอ เพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้  ดังนั้น แม้เราจะอดอาหาร แต่น้ำหนักกลับลดช้า การอดอาหาร จึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการลดน้ำหนัก


     เมื่อเราเข้าใจกระบวนการเก็บ-ใช้ พลังงานในร่างกายแล้ว การลดความอ้วน จะไปยากอะไร ??? แค่ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และไขมัน ลดนะไม่ได้ให้งด ให้พอดีกับร่างกายใช้ กินพออิ่ม อย่ากินจนจุก เคี้ยวช้าๆ กินช้า อย่ารีบ เพราะระบบรับความรู้สึกอิ่มมันทำงานช๊าช้า กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ ตัวจะแตกแล้ว เน้นเพิ่มผักผลไม้ที่ชอบ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ สิ่งที่เราต้องการกำจัดคือไขมัน การกำจัดแน่นอนต้องใช้มันออกไป วิธีง๊ายง่ายสุดๆคือการออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ฟิตเนส เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญมากๆคือ ต้องออกกำลังกายไม่ต่ำกว่า 30 นาทีนะ ถึงจะเริ่มสลายไขมัน เพราะช่วง 30 นาทีแรกร่างกายใช้คาร์โบไฮเดรตสะสมจากกล้ามเนื้อและตับอยู่ ยังไม่หมดก็ยังไม่ดึงไขมันมาใช้ พอเลยเวลานั้นแล้ว ร่างกายก็จะเริ่มดึงไขมันทืี่สำรองใว้ตามก้น ต้ามพุง ติ้นแขน ข้นขา มาใช้แล้วววว ตรงนี้เอง ที่แอลคาร์นิทีนทำงาน ถึงได้บอกว่าแอลคานีทีน กินเฉยๆไม่ได้ผลหรอก กินแล้วต้องออกกำลังกายไม่ต่ำกว่า30 นาทีด้วย จะเห็นผลชัดเจนมาก  เดิมแอลคาร์นิทีน ถูกใช้ในพวกนักเพาะกาย เมื่อพวกเค้าสร้างกล้ามเนื้อจนเป็นที่พอใจ การมีชั้นไขมันมาบังทำให้เห็นมันกล้ามเนื้อไม่ชัดเจน เช่น 6-pack ไม่ขึ้น  ช่วงก่อนประกวด ก็จะมีการกินแอลคาร์นิทีนร่วมกับการออกกำลังกาย ทำให้ไขมันถูกเผาผลาญไปอย่างรวดเร็ว จึงมีคนหัวใสเอามาใส่ในผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนทั้งหลาย เจอของจริงก็ดีไป ซื้อไม่ระวัง เจอแอลคาร์นิทีน ปลอมเอายาลดความอ้วน(เช่น ซาลบูตรามี) มาใส่แทน นี่ก็อันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน 
     การดูดซึม แอลคาร์นิทีนเป็นอะมิโน ร่างกายดูุดซึมแอลคานิทีนที่ลำไส้เล็ก เนื่องจากเป็นเส้นยาว จึงถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้นแอลคาร์นิทีนธรรมดา จึงดูดซึมไม่ดีเท่าที่ควร จึงมีการพัฒนาเป็น acety-l-carnitine ซึ่งมีความคงตัวสูง ดูดซึมได้ดีกว่าแอลคาร์นิทีนทั่วไป 


     จะลดความอ้วนรับประทานอย่างไร!!! วันละ500 - 1000 มิลลิกรัม ต่อวัน ก่อนอาหาร หรือก่อนออกกำลังกาย ไม่ต่ำกว่า 15 นาที และออกกำลังกายครั้งละไม่ต่ำกว่า 40 นาที ควบคู่ไปด้วย รับรอง น้ำหนักบดแบบไม่โทรม ไม่โย่โย่ ไม่เอฟเฟก ไม่เสียสุขภาพ แถมยังสุขภาพดีอีด้วย!!

 

ประโยขน์อื่นๆของแอลตาร์นิทีน รวมถึง ข้อเสียของแอลคาร์นิทีน ผลข้างเคียงของแอลคาร์นิทีน คัดลอกมาจาก http://topicstock.pantip.com/woman/topicstock/2008/11/Q7215255/Q7215255.html
    10 เหตุผลที่ควรรู้ก่อนเลือกกินคาร์นิทีน (Carnitine) เอามาแบ่งกันอ่านสำหรับสาวๆที่สนใจตัวช่วย burn ตัวนี้

   1. คาร์นีทีนทำให้เราแก่ช้าลง แค่เหตุผลแรกก็ชวนให้เราหลงใหลใคร่อยากที่จะกินคาร์นิทีน กันแล้วสิ ที่คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลงได้ ก็เพราะเหตุผลที่ว่า เซลล์ในร่างกายของเราทุกๆ เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจ หรือเซลล์จากที่อื่นๆ ในร่างกาย ทั้งหมดจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อ ได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิด และคาร์นิทีนนี่เองที่เข้าไปช่วยทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น 

   2. คาร์นิทีนทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglycerides) อยู่ในระดับที่ต่ำ และช่วยเพิ่มระดับ HDL-คลอเรสเตอรอล ในเลือด 

   3. นอกจากนี้ คาร์นิทีนยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (ซึ่งเป็น 1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย) 

   4. คาร์นิทีนช่วยทำให้น้ำหนักลด โดยเฉพาะถ้าใช้ร่วมกันวิธีการที่เราลดอาหารจำพวกแป้งลงในอาหารแต่ละมื้อ 

   5. คาร์นิทีนช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายใดๆ กับร่างกาย เหมือนกันที่พบในสารสกัดจากพืชสกุล Ephedra (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงอาหารและยาของอเมริกา ในเอกสารอ้างอิงครับ) 

   6. และยังพบอีกว่าคาร์นิทีนช่วยให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้น และป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนในเซลล์ไม่เพียงพอ 

   7. ทั้งคาร์นีทีน และ อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีน (Acetyl-L-carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น 

   8. อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีนช่วยลดความเสียหายของเซลล์ประสาทอันเนื่องมาจากความเครียด และอาจจะมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ด้วย แต่ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ทำให้อาการของโรคไม่เป็นไปมากกว่านี้ 

   9. อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีน มีผลต่อสุขภาพจิตในทางบวก และลดภาวะความเครียดได้ 

   10. คาร์นิทีนช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเราด้วย 

                   ข้อควรระวังในการใช้แอล-คาร์นิทีน 
                   สำหรับคนที่คิดจะซื้อแอล-คาร์นิทีนมาใช้ควรต้องระวังเพราะอาจจะมีผลข้างเคียงต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกายได้ และอาจจะเข้าทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่กินร่วมกัน ดังนั้น ในการใช้แต่ละครั้ง ควรต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์จะปลอดภัยกว่า 
                   ข้อควรจำให้ขึ้นใจก็คือสสารทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเอง ขึ้นกับปริมาณและช่วงจังหวะเวลาของการใช้ ถึงแม้ว่าแอล-คาร์นิทีนจะไม่ปรากฏผลข้างเคียงใดๆ ที่เด่นชัดมากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัมต่อวัน หรือมากกว่าอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ (ต้องอย่าลืมว่าเราได้แอล-คาร์นิทีนจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์และนมอยู่แล้วด้วย ซึ่งเราไม่สามารถทราบปริมาณที่แน่นอนได้) ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจจะพบได้บ้างก็เช่นมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัว และเกิดมีผื่นแดง และในนักกีฬาหรือคนที่กินแอล-คาร์นิทีนเสริมสำหรับการเล่นกีฬาเพื่อช่วยในการสลายไขมันและช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ก็ควรจะต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างอย่างน้อยเดือนละ 1 อาทิตย์ คือไม่ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกันไปเป็นเวลานานๆ 
                   สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือข้าวสาลี ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริมแอล-คาร์นิทีนเป็นอันขาด รวมไปถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ครับ 




      สุดท้าย ก็หวังว่าหลายๆคนคงจะได้ความรู้และประโยชน์ไปพอสมควร รวมทั้งแนวทางในการพิชิตความสำเร็จ หุ่นดี สุขภาพดีกันทุกคนนะครับ 


เพราะเชื่อว่ากินอย่างไรได้อย่างนั้น 
Gusstation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น