วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำมันหอมระเหยสู้ไมเกรน Aromatherapy for Migraine


        ทำไมเขียนเรื่องไมเกรนอีกแล้วล่ะ ?? ตอบได้คำเดียว คนที่ผมรักมากๆเค้าเป็นไมเกรนคับ ไม่อยากเห็นเค้าปวด ทรมาณ และอยากให้คนที่เป็นได้ประโยชน์ด้วย ไหนๆก็ทั้งร่ำเรียน พร่ำอ่านเตรียมสอบ หากความรู้ที่กำลังจะต้องเอาไปสอบวิชา Pharmacognosy เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย ก็ดีใจครับ

        สำหรับเรื่องของศาตร์การใช้น้ำมันหอมระเหยไว้จะเขียนให้ละเอียดวันหลังนะครับ วันนี้ขอโฟกัสเฉพาะเรื่องไมเกรนก่อน ยาวไปกลัวจะเบื่อครับ เอาหล่ะ ไปพบกันเลย


อันแรก คือ น้ำมันเทียนสัตตบุศย์ (anise oil) หรือที่เราคุ้นชื่อในนามโป๊ยกั๊ก นั่นเอง


น้ำมันโหรพา (sweet basil oil)

น้ำมันตะไคร้หอม(citronella oil) 


น้ำมันคาร์โมไมล์(chamomile oil)


น้ำมันเบอร์กามอต หรือมะกรูดฝรั่ง (bergamot oil)


น้ำมันลาเวนเดอร์ (lavender oil)


น้ำมันเปปเปอร์มิ้น หรือ สระแหน่ (peppermint oil)


น้ำมันมะลิ(jasmine oil)



น้ำมันโรสแมรี่ (rosemary oil)


น้ำมันยูคาลิปตัส (eucalyptus oil)

       จริงๆจะเขียนสรรพคุณทั้งหมดนะ แต่ขี้เกียจ ^^ เอาเป็นว่า วันนี้เฉพาะเจาะจงว่ามันช่วงบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้ก็แล้วกันเนอะ ต่อไปรู้แล้วก็ไปเสาะหากันดีกว่า 


อันดับแรก แบบง่ายๆ คือ เลือกซื้อที่ร้านนั่นเอง ควรเลือกร้านที่ได้มาตรฐาน ไว้ใจได้ มีใบรับรองนะครับ น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีราคาแพงมาก และส่วนใหญ่ค่อนข้างมีราคา เราต้องตรวจสอบให้ดี ร้านที่วางขายตลาดนัดมักเป็นกลิ่นสังเคราะห์ ซึ่งไม่ให้ประโยชน์ทางการรักษา นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายได้อีกด้วย 


ไปสปา อันนี้สำหรับคนกระเป๋าหนักหน่อย เลือกสถานที่บริการได้รับอนุญาติ สะอาด ได้มาตรฐานนะครับ


ปลูกมันซะเอง อันนี้ชัวร์ๆ ประหยัดด้วย พืชหลายๆชนิดปลูกไม่ยาก และเราใช้เป็นผักสวนครัวได้อยู่แล้วเช่น สระแหน่ โหรพา กระเพรา มะนาว มะกรูด ตะไคร้ หรือไม้ดอกไม้ประดับ เช่น มะลิ


ได้มาพร้อมแล้วก็ได้เวลาเสพย์ซินะ มาดูกันดีกว่าว่าใช้ยังไง?


หยดลงในตะเกียงอโรมา 


หยดในชามที่มีน้ำร้อนและอังระยะประมาณ 1 ฟุต อาจคลุมด้วยผ้าขนหนู


การใช่แท่งไม้ช่วยกระจายน้ำหอม


ไฮโซหน่อยก็ใช้เครื่องช่วยกระจายน้ำมันหอมระเหย

ไฮเทคหน่อยก็มีแบบยูเอสบี นะ 555


นำมาประกอบอาหาร 

ผสมน้ำอาบหรือแช่ตัว 


ผสมน้ำอุ่นแช่เท้า 


ผสมเป็นน้ำมันนวดตัว 

      เห็นมั๊ยล่ะครับ วิธีใช้หลากหลายจริงๆ คราวนี้เรามารู้วิธีการผสม และสูตร ในการผสมเพื่อใช้ตาวิธีข้างต้นดีกว่าครับ น้ำมันหอมระเหยเนี่ย เราไม่ควรใช้เดี่ยวๆ เพราะการรับอะไรเดี๋ยวๆปริมาณมากย่อมไม่ดีต่อร่างกายแน่นอน ดังนั้นเราควรผสมครับ มีหลักการง่ายๆที่ผมชอบใช้ ไม่ต้องอิงทฤษฎีมาก คือ น้ำมันระเหยเร็ว 1 หยด และน้ำมันระเหยปานกลาง 2 หยด และน้ำมันระเหยช้า 1-2 หยด หากใช้กับการกระจายกลิ่น และ ผสมกับน้ำมันพื้น เช่น น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอกเป็นต้น เพื่อใช้ในการนวด 

       มาดูสูตรที่ผมใช้บ่อยสำหรับบรรเทาอาการปวดหัวนะครับ ซึ่งสูตรนี้ บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้อีกด้วย อันนี้โน้ตเอียงไปทางสูงนิดนึงนะครับ เพราะน้ำมันที่อยู่ในกลุ่มบรรเทาไมเกรนอยู่ในประเภทโน้ตสูงเป็นส่วนใหญ่ 

ลาเวนเดอร์ 1 หยด
ยูคาลิปตัส 1 หยด
โหรพา 1 หยด
ตะไคร้หอม 1 หยด
มะลิ 2 หยด
เทียนสัตตบุษย์ 2 หยด
**จริงๆเปปเปอร์มิ้นท์ด้วยก็ดีนะ แต่กัสเป็นลมชัก เปปเปอร์มิ้นเป็นสิ่งต้องห้าม ^^

       หากหาอะไรไม่ได้ ก็ลองผสมเท่าที่มี ดูกลิ่นที่ชอบและรู้สึกว่าได้ผลที่สุด ผมว่าการผสมน้ำมันหอมระเหยเป็นศิลปะอย่างหนึ่งนะ สนุกดีด้วย ในห้องผมมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่า 30 ชนิด ไว้ยาเครียด หดหู่ นอนไม่หลับ ปวดหัวหรือแม้แต่วิตกกังวล น้ำมันหอมระเหยช่วยเราได้เป็นอย่างดี

       สำหรับใครที่ชอบแบบผม มีสิ่งที่พึงระวังคือ ใช้ในปริมาณน้อยๆ และผู้ที่มีโรคประจำตัวและมีประวัตการแพ้อะไรก็ตาม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน  เพื่อความปลอดภัย อย่าคิดว่าทุกสิ่งที่มาจากธรรมชาติปลอดภัย นอกจากนี้การเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยก็ควรมาจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย น่าเชื่อถือ 


       ส่วนใครอยากอโรมา อโรคา แบบง่ายๆ แนะนำให้ปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดกระเพรา ต้มยำกุ้ง ไข่พะโล้  ยำใบไม้ สลัดผัก เป็นต้น หรือเครื่องดื่มเช่น โมฮิโต้ น้ำผลไม้ปั่น ทานไปด้วย สดชื่นกับกลิ่นไปด้วย แค่คิดก็สดชื่นแล้วครับ  

      แถมสูตรประจำที่ผมใช้นะครับ  

ลาเวนเดอร์2หยด 
ยูคาลิปตัส 1 หยด 
ลงบนหมอน(ข้างๆพอนะครับ) ก่อนนอน หลับสบาย 

เกลือ2ช้อนโต๊ะ 
น้ำมันตะไคร้ 5 หยด 
ยูคาลิปตัส 2 หยด 
ลาเวนเดอร์ 1 หยด   
ลงในกะละมังขนาดพอเท้าสองข้างลงแช่ มีน้ำอุ่นมาก(พอทนได้) แช่ชิลล์ๆ หลังเดินชอปปิ้งขาลาก หรือยืนทำงานจนเมื่อยตุ้ม ตื่นเช้ามาหายปวดเมื่อย เดินปร๋อแน่นอน 

ลาเวนเดอร์ 1 หยด 
มะกรูด 1 หยด 
ส้ม 1 หยด 
มะลิ 1 หยด 
ผสมน้ำมันแอลมอนด์ 100 มิลลิลิตร นวดตัวหลังอาบน้ำ ยามวันที่หดหู่ ตึงเครียด ให้สดชื่นมีชีวิตชีวา 


     สุดท้าย ผมก็เขียนยาวเหยียดจนได้ - -" หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับ ด้วยอานิสงส์จากความรู้อันอาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ขอให้น้องสาวผมหายจากการเป็นไมเกรน หรือมีอาการน้อยที่สุด 
     ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะครับทุกคน อย่าเจ็บอย่าจน สวัสดีครับ 

Gusstation

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

6 เคล็ดไม่ลับ ป้องกันไมเกรน


   ที่เห็นน่าสนใจ เอามาลงเพราะ น้องสาวเจ้าของบล็อคเองก็เป็นไมเกรน เข้าใจความรู้สึกนะ บางคนปวดมากถึงกับอาเจียน วันนี้เลยมีข้อปฏิบัติเล็กๆน้อยๆหลีกเลี่ยงไม่ให้อาการกำเริบขึ้นได้ ยิ่งช่วงสอบ ยิ่งลำบากนะ

มาดูกันเลยว่าควรทำอย่างไรบ้าง


1. ทำไดอะรี่ บันทึกอาการปวดศึรษะ เวลาที่เริ่มปวด อาหารที่รับประทานไป ความเครียด รวมถึงช่วงเวลาของรอบเดือน(ในผู้หญิง) จะช่วยให้คุณและหมอที่รักษาหาสาเหตุกระตุ้นได้ง่ายขึ้น


2. อาหารที่มักเกี่ยวข้องกับอาการไมเกรนคือ ช็อคโกแล็ต คาเฟอีน และแอลกอฮอล์ ลองสังเกตุว่าอาการปวดศึรษะของคุณสัมพันธ์กับอาหารเหล่านี้หรือไม่


3. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ พบว่าการนอนดึก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นของไมเกรน

4. หากคุณเป็นผู้หญิงและรับประทานยาคุมกำเนิด อาจลองหยุดรับประทานและเปลี่ยนไปใช้วิธีคุมกำเนิดอื่น เพราะบางครั้งเอสโตรเจนจากยาอาจเป็นตัวกระตุ้นไมเกรนได้


5. เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแดดร้อนๆนานต่อเนื่อง ทั้งความร้อนและแสงที่สว่างมากๆ อาจกระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบได้ การพกแว่นกันแดดติดตัวและใส่ในยามจำเป็นก็ช่วยได้


6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยลดความเครียด และลดความถี่ในการกำเริบของไมเกรนได้



ขอบคุณข้อมูลจาก pleasehealth.com


เครียดๆก็ผ่อนคลายดูบ้าง นะครับ ^_^



Gusstation
พูดคุยเรื่องอาหาร  https://www.facebook.com/GusHealthstation  
วิตามินและอาหารเสริม https://www.facebook.com/vt.station

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Milk Thistle (มิลค์ ทิสเทิล)หรือ Silymarin (ไซลิมาริน) สมุนไพรดูแลตับ


       เนื่องจากคุณพ่อเคยเป็นโรคเกี่ยวกับตับ ถึงขั้นดีซ่านมาแล้ว แต่ผมก็ไม่ทราบรายละเอียดแต่อย่างใดว่าเป็นอะไรยังไง แต่ที่ทราบแน่ๆคือพ่อทานเหล้าแทบทุกวัน ไม่รู้ตอนนี้ยังแอบทานหรือเปล่า คาดได้ว่าตับเสียหายไปมากแล้ว ไหนจะคลอเรสเตอรอล กับไตรกลีเซอไรด์สูง อีก เลยคิดว่าอยากหาอาหารเสริมให้ท่านทาน เปิดอ่านเจอสมุนไพรตัวนี้ในหนังสือของคุณหมอท่านนึง เลยค้นคว้าต่อ เจอบทความนี้และงานวิจัย เยอะแยะมากมาย ทั้งมีการนำมาใช้เป็นยาแล้ว มีความปลอดภัยสูง จึงตัดสินใจ สั่ง milk thistle มาให้ไว้ให้พ่อรับประทานได้สักพักแล้ว แต่พ่อยังไม่ทานตัวเก่าที่ซื้อไปให้เลย ว่าจะไปจัดการขอร้องแกมบังคับให้ทานช่วงปิดเทอมนี้หล่ะ คุณพ่อนะดื้อจริงๆ บอกแต่ว่าโรคตับรักษาไม่ได้หรอก ช่างเถอะ พ่อศึกษามาแล้ว >>> ลูกเรียนอยู่นะพ่อ วันก่อนอาจารย์ก็พูดถึง เฮ้อ คนแก่นี่ดื้อจริงๆเนอะ 
       ผมเองก็ว่าจะลองทานสักกระปุก เผื่อจะฟื้นฟูตับ จัดการสารพิษคั่งค้างซะหน่อย ก่อนหน้านี้เป็นสิวผดเต็มหน้า ทำไงก็ไม่หาย ทานย่านางแดง กระปุกเดียว ดีขึ้นมาก ส่วนตัวยอมรับว่าน้องแอล(แอลกอฮอ) มีบ้างบางโอกาศ ไม่เกินสองเดือนครั้ง แต่อาหารอย่างอื่น อยู่เมืองใหญ่ไม่แน่ใจสารพิษเลย ซื้อเค้ากินทั้งนั้น
       จะเขียนใหม่ก็ขี้เกียจ จะก๊อปภาษาอังกฤษมาก็อยากให้คนทั่วไปอ่านเข้าใจด้วย ขออนุญาติอ้างอิงบทความของอาจารย์เภสัชท่านนึงเคยเขียนไว้ แต่ตอนนี้ลิงค์ตายไปละ แต่ผมโชคดีที่เซฟไว้ เอามาให้ลองอ่านกัน ส่วนใครเก่งภาษาอังกฤษก็ลองดูตามลิงค์ที่ใส่ไว้นะคับ เผื่อจะมีประโยชน์บ้าง
       มีการชงเป็นชาดื่มกันในแถบพื้นเมือง ของเขตที่มีพืชนี้ และในอเมริกาและยุโรป มีการใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างแพร่หลาย
       ในไทยมีการใช้  silymarin เป็นยาแล้ว โดยมีชื่อการค้า samarin เป็นยาเม็ดขนา 70 มิลลิกรัม 
       อันนี้ มูลนิธิโรคตับครับ http://www.thailiverfoundation.org/


     Milk Thistle หรือ St Mary's Thistle มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Silybum marianum (L.) Gaertn. เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และถูกนำไปแพร่หลายในยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ก้านและใบอ่อนนิยมใช้ทำสลัด ส่วนที่มีการนำมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคคือเมล็ด มีสารสำคัญคือ Silymarin ซึ่ง Silymarin ประกอบด้วยสาร Flavanolignans หลายชนิด เช่น Silybin Silychristin และ Silydianin เป็นต้น ในประเทศเยอรมัน ใช้เมล็ดในการรักษาอาการดีซ่าน อาการผิดปกติของตับและน้ำดี ตับอักเสบและโรคริดสีดวงทวาร จากหลักฐานทางคลินิกพบว่า สารสกัดจาก Milk Thistle ที่มีองค์ประกอบหลักเป็น Silymarin สามารถรักษาโรคตับอักเสบได้ โดยที่ Silymarin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ในการป้องกันตับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 

1. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ        
       1.1 Silybin และ Silydianin สามารถยับยั้งการสร้าง Superoxide และ Hydrogen peroxide ในเม็ดเลือดขาว        
       1.2 Silybin ช่วยเสริมฤทธิ์ในการขจัดอนุมูลอิสระของเอ็นไซม์ Superoxide dismutase และ Glutathione peroxidase ในเม็ดเลือดแดง 
 
2. เพิ่มปริมาณ Glutathione ซึ่ง Glutathione เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อช่วยขจัดสารพิษ
 
3. ฤทธิ์ในการควบคุมการซึมผ่านของเซลล์เมมเบรนและเพิ่มความคงทนของเซลล์ต่อการบาดเจ็บจากภายนอก
 
4. ฤทธิ์ในการเพิ่มการสังเคราะห์ Ribosomal RNA และ โปรตีน ทำให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่
 
5. ฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ Silybin Silychristin และ Silydianin สามารถยับยั้งการสร้าง Prostaglandins (ศึกษาในหลอดทดลอง)
 
6. ฤทธิ์ในการปกป้องตับจากสารพิษ        พบว่าสารสกัดจาก Milk Thistle ที่มีสาร flavanolignans เป็นองค์ประกอบหลัก สามารถลดความเป็นพิษต่อเซลล์ของ Carbon tetrachloride และ Galactosamine (ศึกษาในหลอดทดลอง)
นอกจากนี้การทดลองในสัตว์ยังพบว่า Silymarin และ Silybin ยังสามารถปกป้องตับจากการได้รับสาร Ethanol, Paracetamol, Lanthanides, FV3 virus, โลหะหนัก และ Thioacetamide นอกจากนี้ Silymarin ยังสามารถใช้ในการป้องกันและรักษาในกรณีที่ได้รับเห็ดพิษบางชนิด เช่น Amanita phalloides โดยป้องกันไม่ให้สารพิษจากเห็ดจับกับเซลล์ตับ และป้องกันการแทรกซึมผ่านของสารพิษสู่เซลล์ตับ และยังพบว่า Silymarin สามารถป้องกันตับถูกทำลายจากเชื้อ Plasmodium berghei ได้
       การทดลองในคนสุขภาพดีเมื่อให้รับประทานผลิตภัณฑ์ Silymarin 3 ชนิดพบว่าประมาณ 20-50 % ของ Silymarin สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และประมาณ 80 % จะขับออกทางน้ำดี นอกจากนี้พบว่าสารกลุ่ม Flavanolignans จะสะสมอยู่ที่ตับและน้ำดี

             


ประเภทของผู้ป่วย      ประเภทของการทดลอง     จำนวนผู้ป่วย      ขนาดยาที่ใช้         ผลการรักษา

ตับอักเสบเฉียบพลัน       Uncontrolled Study                29               210 มก/วัน             - อาการดีขึ้น
หรือ ตับอักเสบเรื้อรัง                                                                        เป็นเวลา 3 เดือน    - ค่าทางห้องปฏิบัติ
หรือ ตับแข็ง                                                                                                                      การดีขึ้น
                                                                                                                                     - ผู้ป่วยที่มีอาการ
                                                                                                                                        ดีซ่านค่า Bilirubin
                                                                                                                                        กลับเข้าสู่ปกติ
                                                                                                                         (Brodanova et al., 1976)


ตับอักเสบเรื้อรัง              Double-Blind,                         12, 24           420 มก/วัน          - ค่าทางห้อง 
                                      Placebo Controlled                                      หรือ ยาหลอก        ปฏิบัติการไม่ต่าง
                                      Study(ทำการศึกษาในผู้ป่วย 2กลุ่ม)              เป็นเวลา 3             ระหว่างกลุ่มที่ใช้ 
                                                                                                         เดือน - 1 ปี             Silymarinและ
                                                                                                                                      กลุ่มที่ใช้ยาหลอก
                                                                                                                                     - แต่ลักษณะทาง
                                                                                                                                        กายวิภาค
                                                                                                                                        ของเซลล์ตับ
                                                                                                                                       ดีขึ้นในผู้ป่วยที่ทาน
                                                                                                                                      Silymarin บางราย
                                                                                                                          (Kiesewetter et al., 1977)


ตับอักเสบเฉียบพลัน        Double-Blind,                            57                 210 มก/วัน         - ค่า Bilirubin 
เนื่องจากไวรัส                 PlaceboControlled Study                               หรือ ยาหลอก        และ ค่า GOT
                                      (ทำการศึกษา 2 ศูนย์)                                      3 สัปดาห์              ในผู้ป่วยที่ทาน
                                                                                                                                         Silymarin ลดลง
                                                                                                                                         ได้ดีกว่าในผู้ป่วย 
                                                                                                                                        ที่ทานยาหลอก
                                                                                                                              (Magliulo et al., 1978)


ตับแข็ง                         Double-Blind,                              170               420 มก/วัน            อัตราการตายของ
                                    Randomized Study                                          เป็นเวลา 4 ปี          ผู้ป่วยที่ทาน 
                                                                                                                                         Silymarinติดต่อ
                                                                                                                                         กันเป็นเวลา 2 ปี
                                                                                                                                         ลดลงอย่าง
                                                                                                                                         มีนัยสำคัญ 
                                                                                                                             (Ferenci et al., 1989)



การทดสอบความเป็นพิษ       

พบว่า Silymarin มีความเป็นพิษต่ำ เมื่อให้ในขนาด 20 ก/กก ในหนู และ ในขนาด 1 ก/กก ในสุนัขพบว่าไม่ทำให้สัตว์ทดลองตาย และ ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ และการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังพบว่าการให้ Silymarin ในขนาด 100 มก/กก ในสัตว์ทดลอง เป็นเวลา 16-22 สัปดาห์ ปรากฏว่าไม่พบอาการพิษ และ ไม่เป็นพิษต่อทารกในครรภ์ (teratogenic effect) Silymarin สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มนุษย์และทำให้ DNA ถูกทำลายได้เมื่อได้รับในขนาดที่สูงมาก

อาการไม่พึงประสงค์       

การศึกษาในผู้ป่วยมากกว่า 3,500 คน พบว่าเพียงแค่ 1 % พบอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานผลิตภัณฑ์ของ Milk Thistle พบว่ามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ชนิดอื่นมีดังนี้

กรณีศึกษาที่ 1         มีรายงานที่ผู้ป่วย 1 ราย ทานสารสกัด Milk Thistle แล้วเกิดอาการแพ้แบบ Anaphylactic Shock ผู้ป่วยรายนี้มีประวัติการแพ้ Kiwi fruit แบบ immediate type allergy มาก่อน

กรณีศึกษาที่ 2         มีรายงานที่ชายชราอายุ 54 ปีดื่มชา Milk Thistle แล้วเกิดอาการบวมที่หน้า บวมที่เยื่อบุช่องปาก กดการหายใจ หลอดลมบีบเกร็ง ความดันลดลง เมื่อทำ skin prick test พบว่าผู้ป่วยรายนี้เกิดอาการแพ้แบบ immediate type reaction ต่อสารสกัดจากเมล็ดของสารสกัดจากเมล็ดของ Milk Thistleในประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียน Silymarin ในรูปแบบยาแผนปัจจุบัน ซึ่งมีข้อบ่งใช้ดังนี้
ช่วยให้ตับมีสมรรถภาพที่ดีขึ้นในโรคของตับต่อไปนี้  
    
 1. ตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน      
 2. โรคตับแข็ง โรคไขมันสะสมในเนื้อตับ โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง      
 3. ตับเสื่อมเนื่องจากสารพิษ

ขนาดและวิธีใช้       โดยทั่วไปผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 140 มก วันละ 3 เวลา หลังอาหาร หรือ ตามแพทย์สั่งในรายที่มีอาการดีขึ้นแล้วหรือโรคไม่รุนแรงรับประทานครั้งละ 70 มก วันละ 3 เวลา หลังอาหาร หรือตามแพทย์สั่ง


เอกสารอ้างอิงMills S. and Bone K. 2000. Principles and practice of phytotherapy: modern herbal medicine. Churchill Livingstone, Edinburgh. pp. 553-562.

โดย : ภก.ดร. ฉัตรชัย วัฒนาภิรมย์สกุล
pcog.pharmacy.psu.ac.th/thi/Article/2547/08-47/milkthistle.html%20 





Gusstation
พูดคุยเรื่องอาหาร https://www.facebook.com/GusHealthstation  
วิตามินและอาหารเสริมhttps://www.facebook.com/vt.station