วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สมุนไพรไทย Aromatherapy อโรม่ารักษาสิว น้ำมันหอมระเหยที่ยับยั้งเชื้อ P.acnes



มีเรื่องเล่า คืออยากรู้ว่าน้ำมันหอมระเหยอะไรบ้าง ที่มันช่วยรักษาสิว นี่ไปเจองานวิจัยอันนึงมา ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ที่ตีพิมพ์ลง The International Journal of Aromatherapy  เค้าทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันระเหยง่าย จากพืชสมุนไพรไทย 7 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้บ้าน ตะไคร้หอม มะกรูด กระเพรา โหรพา ไพล ขิง โดยใช้วิธิ disc diffusion method ก็คือ เอาแผ่น disc เนี่ย ไปจุ่มสารละลายที่มีน้ำมันระเหยง่ายจากสมุนไพร แล้วมาวางลงบนจานเพาะเชื้อที่มีเชื้อ P.acnes ซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิวที่ทุกท่านไม่พึงปรารถนา จากนั้นก็นำไปเพาะเชื้อ เพื่อวัดระยะห่างระหว่างแผ่นdisc ที่มีสาร กับบริเวณที่เชื้อขึ้น ถ้าเชื้อไม่ขึ้นกว้างออกไปเท่าไหร่ แสดงว่าสารนั้นต้านเชื้อ P.acnes ได้ดีเท่านั้น ผลการทดลองก็พบว่า ที่ ความเข้มข้นของ Essential oils 0.25% V/V และ0.5% V/V  มีตะไคร้บ้าน กับมะกรูด ที่ยับยั้งเชื้อได้ และที่ความเข้มข้น มากกว่า 1% ตะไคร้หอม กระเพรา โหรพา ก็ยับยั้งได้ ส่วนไพลและขิง ไม่สามารถยับยั้งได้ ที่2% ต้องใช้ความเข้มข้นสูงกว่านื้ทดสอบด้วยอีกวิธี จากที่ดูคร่าวๆเราก็พอเรียงความสามารถในการจัดการเชื้อ P.acnes  อันดับหนึ่ง มะกรูด ตามด้วยตะไคร้บ้าน ส่วน ตะไคร้หอม กระเพรา โหรพา พอๆกัน ไพล ขิง ยังไม่เห็นฤทธิ์ที่2%

                จากงานวิจัยนี้เราทราบเพียงว่า มันยับยั้ง P.acnes ได้นะ ซึ่งอาจยับยั้งสิวที่เกิดจาก P.acnes ได้ แต่สิวมีหลายประเภท หลายสาเหตุ หากเกิดจากสาเหตุอื่น ก็อาจจะไม่ช่วย อีกทั้งตามผลการทดลอง เปอร์เซ็นต์ต่ำสุด 0.25% ซึ่งก็ค่อนข้างเยอะ หากใช้เปอร์เซ็นต์ยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงต่อการระคายเคือง ก็ต้องระมัดระวัง ในการใช้ ยิ่งถ้าเป็นน้ำมันหอมระเหย ตระกูลส้ม อย่างมะกรูด หรือจำพวกขิง ควรได้จากการกลั่น เนื่องจากจะไม่มีสารที่ทำให้ผิวไวต่อแสงได้ ที่มาของน้ำมันระเหยง่ายแต่ละแหล่ง อาจมีสารออกฤท์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่ปลูก อายุที่เก็บเกี่ยว นอกจากนี้งานวิจัยนี้งานวิจัยนี้ยังเป็นงานวิจัยที่ทำในหลอดทดลอง มิใช่บนผิวมนุษย์จริงๆ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติม


จริงๆผู้วิจัยใช้สองเทคนิคทดลองนะ แต่อันนี้หยิบมาอธิบายคร่าวๆอันเดียว และมีการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การต้านการอักเสบด้วย สนใจอ่านงานวิจัยฉบับเต็ม คลิกลิงค์ด้านล่างเลยจ้า
https://www.google.com/urlsa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0CCQQFjAA&url=http%3A%2F%2Fwww.researchgate.net%2Fpublication%2F238635275_In_vitro_bioactivities_of_essential_oils_used_for_acne_control%2Flinks%2F00b7d5226efca5cf3c000000&ei=wZJVP6DDYSrmAXcyoLYAw&usg=AFQjCNFHMRBfOkFT5lF2rbPYdCd_8cDajQ&sig2=RTP-eRwzm7FIwjlFvhL-EA&bvm=bv.77880786,d.dGY








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น